6 เคล็ดลับ เลือกปากกาไวท์บอร์ด ให้ปลอดภัยและคุ้มค่าที่สุด
6 เคล็ดลับ เลือกปากกาไวท์บอร์ด ให้ปลอดภัยและคุ้มค่าที่สุด
ปัจจุบันปากกาไวท์บอร์ดมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั้งการเรียนการสอนในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ใช้ในการนำเสนองาน การฝึกอบรม รวมทั้งใช้เป็นอุปกรณ์การทำงานศิลปะของเด็ก ดังนั้นความปลอดภัยของปากกาไวท์บอร์ดจึงมีความสำคัญเป็นอันดับแรกในการเลือกใช้
วันนี้เรามี 6 เคล็ดลับ ในการเลือกซื้อปากกาไวท์บอร์ดอย่างไรให้ปลอดภัย และคุ้มค่าที่สุด
1. ดูจากมาตรฐานต่างๆ ที่ปากกาไวท์บอร์ดแต่ละยี่ห้อได้รับ
มาตรฐานยุโรป EN71 Part 3
สหภาพยุโรป ได้ประกาศใช้ระเบียบความปลอดภัยของเล่น (Toys Safety) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) ระเบียบนี้เป็นที่มาของมาตรฐานร่วมในชุด EN-71: Safety of Toys ที่ผู้ผลิตของเล่นทั่วโลกรู้จัก และมาตรฐานนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ประกอบกฎหมายในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย (มาตรฐาน มอก 685-2540)
ระเบียบความปลอดภัยของเล่น ได้บัญญัติความเสี่ยงของของเล่นไว้ 6 ด้าน และสารเคมีก็เป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่ผู้ผลิตต้องป้องกัน โดยสินค้าจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐาน EN 71-3 ที่มีก าหนดขีดจำกัด ปริมาณการรั่วไหล สูงสุดของธาตุ 8 ชนิดจาก (พลวง สารหนู แบเรียม แคดเมียม โครเมียม ตะกั่ว ปรอท และเซเลเนียม) วัสดุของเล่น
ต่อมาได้มีมีการเพิ่มเติมประเด็นหลักในด้านสารเคมี ในระเบียบฉบับใหม่ (เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556) โดยสรุปได้ดังนี้
- ของเล่นต้องไม่มีส่วนผสมของสารเคมีที่เป็นสารต้องห้าม ที่มีกฎหมายบังคับอยู่ (เช่น ระเบียบ Phthalate และสารเคมีที่มีรายชื่อใน Annex XVII ของกฎ REACH
- ห้าม ใช้สารเคมี ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็ง (Carcinogen: C) สารที่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ (Mutagenic: M) หรือสารที่เป็นพิษต่อระบบการสืบพันธุ์ (Toxic for reproduction:R) (CMR) ประเภท 1A, 1B หรือ 2 ตามกฎ 1272/2008 ในของเล่น ชิ้นส่วนของของเล่นหรือส่วนประกอบย่อยของของเล่น ("Micro-structurally distinct parts") โดยมีข้อยกเว้นในบางกรณี เช่น
- มีความเข้มข้นต่ำกว่าเกณฑ์กำหนดประเภท สำหรับสาร CMR ชนิดนั้นๆ
- สามารถป้องกันเด็กได้รับสารเหล่านี้ไม่ว่าจะในรูปแบบใด (เช่น การสัมผัส การอมหรือการสูดดม เป็นต้น) ได้ทั้งในสภาวะการเล่นของเล่นตามปกติ และตามพฤติกรรมของเด็กที่คาดการณ์ได้
- กรณีนิกเกิลในสเตนเลส
- ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับ Nitrosamines และ Nitrosable Substances (สารที่สามารถก่อสารประกอบไนโตรเจนได้)
- ห้ามใช้ในของเล่นสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 36 เดือน
- ห้ามมี Nitrosamine เกิน 0.05mg/kg (ppm) และ Nitrosable Substances เกิน 1 mg/kg ในของเล่นอื่น ที่นำเข้าปากได้ของเล่นประเภทเครื่องสำอาง (Cosmetic toys) ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายเครื่องสำอาง (ระเบียบ 76/768/EEC)
- สารให้กลิ่นที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้
- สารต้องห้าม: ของเล่นทุกชนิด ต้องปลอดสารให้กลิ่นที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ 55 รายการที่กำหนด เว้นแต่จะเป็นการปนเปื้อนในปริมาณน้อยๆ ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในทางเทคนิคภายใต้ สภาวะการผลิตที่ดี (Good ManufacturingPractice) ซึ่งในกรณีนี้ อนุญาตให้มีได้ไม่เกิน 100mg/kg (ppm) (ไม่ใช่เป็นการใส่โดยเจตนา)
- สารต้องสำาแดง: กำหนดรายการสารให้กลิ่นที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ 11 รายการที่ต้องสำแดง บนตัวของเล่น, บน Label, บนบรรจุภัณฑ์, หรือบนเอกสารประกอบของเล่น หากมีการใช้งานในปริมาณเกิน 100mg/kg
- ข้อกำหนดขีดจำกัดการรั่วไหลสูงสุดของธาตุที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย 19 รายการ จากตัวของเล่นหรือจากส่วนประกอบของของเล่น (Components of toys) (จากเดิมที่เคยมี เพียง 8รายการ และครอบคลุมของเล่นทั้งชิ้น รวมถึงการปรับลดระดับการยอมรับลง จนเหลือเพียงไม่ถึงร้อยละ 1-2 ของค่าที่กำหนดไว้เดิม) เว้นแต่จะสามารถป้องกันไม่ให้เด็กสามารถเข้าถึงส่วนที่มีสารเหล่านี้ หรือป้องกันไม่ให้เด็กได้รับสารเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน โดยคำนึงถึงพฤติกรรมการเล่นของเล่นของเด็ก ที่รวมถึงการดูด การเลีย การกลืน หรือการสัมผัสของเล่นเป็นเวลานาน
Cr. โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนภายใต้กฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมโลก
มาตรฐานสหรัฐอเมริกา ASTM F963
ASTM (The American Society for Testing and Materials) ซึ่งเป็นมาตรฐานว่าด้วยความปลอดภัยเกี่ยวกับของเด็กเล่น ที่มีสมาคมอุตสาหกรรมของเล่นสหรัฐฯ (Toy Industry Association: TIA) และ The U.S. Consumer Product Safety Commission (CPSC) ทำหน้าที่ควบคุม และดูแลให้ของเด็กเล่นที่วางจำหน่ายในสหรัฐฯ (ยกเว้นรถจักรยาน 2 ล้อและ 3 ล้อ สเก็ตบอร์ด จรวดและเครื่องบินสำหรับเด็กเล่น อุปกรณ์กีฬา และเครื่องเล่นในสนาม) ทั้งที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศต้องได้รับการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนวางจำหน่าย ทั้งนี้ สาระสำคัญของมาตรฐาน ASTM F963 เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ขนาดของส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับของเด็กเล่น เช่น ลูกบอล หรือลูกแก้ว ชิ้นส่วนตัวต่อ (Puzzles) ส่วนประกอบของตุ๊กตา (เช่น ตาและจมูก) ต้องมีขนาดไม่เล็กจนเด็กสามารถสูด หรือกลืนลงคอ จนเป็นอันตรายต่อระบบหายใจของเด็ก
- ระดับความดังของเสียง ของเด็กเล่นที่ต้องเล่นแนบกับหู เช่น โทรศัพท์สำหรับให้เด็กเล่น หรือของเด็กเล่นที่บีบแล้วมีเสียงต้องมีเสียงไม่ดังจนเกินไป
- สารพิษตกค้างในของเด็กเล่น ทั้งที่เป็นส่วนผสมในวัสดุและเป็นสารเคลือบผิวของเล่น เช่น ของเด็กเล่นที่ทำจากยางหรือพลาสติกสำหรับให้ทารกกัด ต้องไม่มีสารที่เป็นอันตรายเมื่อเด็กสัมผัสหรือกัดเข้าปาก เป็นต้น
- ความแหลมคมของของเด็กเล่น เช่น อุปกรณ์ในชุดฝึกหัดตัดเย็บของเด็ก/ชุดฝึกหัดทำอาหาร ต้องไม่มีส่วนที่เป็นปลายแหลม หรือสันคมที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก
- กระแสไฟฟ้า ของเด็กเล่นที่ใช้แบตเตอรี่เป็นตัวขับเคลื่อน โดยเฉพาะรถยนต์จำลองที่สามารถขับได้จริง ต้องได้รับการตรวจสอบระบบควบคุมการรั่วไหลของกระแสไฟ การลัดวงจร ปุ่มสวิตช์การทำงาน เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้ผลิตจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับฉลากสินค้าที่ติดบนบรรจุภัณฑ์ของของเด็กเล่น ทั้งคำแนะนำในการเล่นอย่างถูกวิธี อายุที่เหมาะสมของเด็กสำหรับของเล่นแต่ละชนิด คำเตือนให้ระมัดระวังอันตรายจากการเล่นของเล่นเพื่อป้องกันอันตรายจากการเล่นอย่างไม่ถูกวิธี
ส่วนประกอบต่างๆ ต้องไม่มีขนาดเล็กจนเกินไป ขณะเดียวกัน สี สารเคลือบ หรือวัสดุที่ใช้เชื่อมต่อชิ้นส่วนของเด็กเล่น อาทิ กาว ซิลิโคน ต้องไม่มีโลหะหนักในปริมาณที่เป็นอันตราย
Cr. ข้อมูล ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2546
มาตรฐานสหรัฐอเมริกา ASTM D4236
ASTM (The American Society for Testing and Materials) ซึ่งเป็นมาตรฐานว่าด้วยความปลอดภัยเกี่ยวกับของเด็กเล่น โดยมาตรฐาน ASTM F963 เกี่ยวข้องกับเรื่อง แนวปฏิบัติมาตรฐานสำหรับการติดฉลากวัสดุศิลปะสำหรับอันตรายต่อสุขภาพเรื้อรัง (Standard Practice for Labeling Art Materials for Chronic Health Hazards) ซึ่งเป็นการรับรองวัสดุว่าเป็นวัสดุที่ปลอดสารพิษ
มาตรฐานในประเทศไทย จะใช้ มอก 685-2540
สำหรับมาตรฐานในประเทศไทย จะใช้ มอก 685-2540 ซึ่งโดยภาพรวมก็จะเป็นไปตาม มาตรฐานของทางยุโรปและอเมริกา ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Thai Industrial Standards Institute (TISI) - สำนักงานมาตรฐาน ...www.tisi.go.th
2. ใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลายหลัก (Alcohol Base) ในน้ำหมึก
โดยสังเกตุง่ายๆที่กลิ่นจากปากกาที่เราได้กลิ่นจะเป็นกลิ่นแอลกอฮอล์ ประมาณเดียวกับ Alcohol Gel ล้างมือ (ที่ไม่ผสมน้ำหอม) ซึ่งปริมาณกลิ่นอาจมากน้อยตามสัดส่วน % Alcohol ตามสูตรของผู้ผลิตแต่ละราย
อย่างไรก็ตามชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ต้องเป็น “เอทิลแอลกอฮอล์ หรือ เอทานอล” (Ethyl Alcohol หรือ Ethanol) ซึ่งปลอดภัยกว่า “เมทานอล” (methanol) หรือ “เมทิลแอลกอฮอล์” (methyl alcohol)
ซึ่ง Ethyl Alcohol เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักวัตถุดิบธรรมชาติ มีสูตรทางเคมีคือ C2H5OH เช่น แอลกอฮอล์ใน เหล้าสุรา ไวน์ เบียร์ หรือ เอทานอล ที่ใช้ในน้ำมัน Ethanal ก็เกิดจากการหลักมันสำปะหลัง หมักข้าวโพด เป็นต้น จะมีพิษต่อร่างกายหากกินเข้าไปในปริมาณมาก แต่ไม่อันตรายหากสูดดม
แต่ “เมทานอล” (methanol) หรือ “เมทิลแอลกอฮอล์” (methyl alcohol) ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเคมี มีสูตรทางเคมีคือ CH3OH นิยมใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมการทำเฟอร์นิเจอร์ เช่น สีทาไม้ น้ำมันเคลือบเงา ยาลอกสี ฯลฯ ห้ามรับประทาน และ เป็นอันตรายหากสูตรดมหรือสัมผัส ทำให้หลอดลมอักเสบ หลอดคออักเสบ มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก หากได้รับปริมาณมากทำให้ไตอักเสบ กล้ามเนื้อตับตาย หรือโลหิตเป็นพิษ และเสียชีวิตได้
3. ไม่เป็นฝุ่นผงเวลาลบ
ปากกาไวท์บอร์ดเวลาลบจะเป็นผงหมึกติดอยู่ที่แปรงลบกระดาน บางส่วนก็จะตกลงพื้น สังเกตุเวลาเราทำความสะอาดแปรง หรือทำความสะอาดพื้น ก็จะเห็นเป็นผงหรือฝุ่นที่เป็นสีตามหมึกปากกาที่เราใช้ นอกจากนี้บางส่วนก็จะลอยในอากาศซึ่งหากสูดดมเข้าไปก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
ลองมองหาปากกาไวท์บอร์ดที่ลบแล้วเป็นเส้นใย เหมือนขี้ยางลบ ก็จะช่วยให้เราปลอดภัยจากฝุ่นหมึกที่จะสูดดมเข้าไปรวมทั้งทำความสะอาดง่ายขึ้นด้วย
VDO ตัวอย่างการลบของ ปากกาไวท์บอร์ด CSR Water Chalk
4. สามารถเติมหมึกได้
หากต้องใช้บ่อยและใช้ปรืมาณมากปากกาไวท์บอร์ดควรต้องเติมหมึกได้ เพราะเมื่อเทียบกับที่ต้องซื้อด้ามใหม่บ่อยๆ แบบที่เติมหมึกได้จะประหยัดมากกว่า
ปากกาไวท์บอร์ดเคมีที่เติมหมึกไม่ได้ทำให้เราเราต้องสั่งบ่อย หรือ บางครั้งต้องสั่งมา stock ไว้ซึ่งบางชนิดเก็บไว้นานก็ระเหยแห้งไปโดยที่ยังไม่ได้ใช้
5. สามารถเติมหมึกได้
เมื่อเติมหมึกได้ ก็น่าจะเปลี่ยนหัวปากกาได้ด้วย เพราะหากเติมหมึกและใช้ไปนานๆหัวปากกาอาจเสื่อม หัวแตก หรือตัน จากการที่ลืมปิดฝา ก็สามารถเปลี่ยนเฉพราะหัวปากกาได้ไม่ต้องเปลี่ยนทั้งด้าม
6. มีสีให้เลือกหลากหลาย
ปากกาไวท์บอร์ดที่ใช้งานเมื่อก่อน จะมีแค่สีหลักๆ 3 สี คือ น้ำเงิน ดำ แดง เนื่องจากใช้กับกระดานพื้นขาวเป็นหลัก แต่ปัจจุบันกระดานไวท์บอร์ดมีทั้ง พื้นเขียว และพื้นดำ ซึ่งถนอมสายตามากกว่ากระดานพื้นขาว ปากกาไวท์บอร์ดที่ใช้เขียนได้กับกระดานสีพื้นเข้มก็ต้องใช้เป็นโทนสีอ่อน เช่น ขาว เหลือง ชมพู ฟ้า เพราะถ้าใช้ สีน้ำเงิน ดำ แดง จะมองเห็นไม่ชัด
รวมทั้งปัจจุบันตามสำนักงานต่างๆนิยมใช้เป็นกระดานกระจก ปากกาไวท์บอร์ดที่ใช้ต้องเลือกแบบที่หมึกสีชัดเจน เส้นเขียนได้สม่ำเสมอ รวมทั้งใช้สีที่สดใสก็จะช่วยให้การนำเสนองานต่างได้น่าสนใจมากขึ้น
หวังอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ในการเลือกใช้ปากกาไวท์บอร์ดที่จะปลอดภัยและคุ้มค่ากับผู้ใช้อย่างแท้จริงโดยเฉพาะกับคุณครูและนักเรียนนะครับ
CSR Water Chalk
ปากกาไวท์บอร์ด ไม่มีกลิ่นฉุน ไร้ฝุ่น เติมหมึกได้ เปลี่ยนหัวได้
-
อันตรายจากการใช้ปากกาไวท์บอร์ด รองศาสตราจารย์บัญญัติ สุขศรีงาม ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา การเรียนการสอนของครูในยุคก่อนหน้านี้จะใช้ชอล์กและกระดานดำเป็นสำคัญ...
-
การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคืออะไร การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือการจัดซื้อจัด...
สินค้าแบรนด์ CSR Water Chalk
-
ปากกา CSR Water Chalk - Size M120.00 ฿
-
ปากกา CSR Water Chalk - Size S115.00 ฿
-
ปากกา CSR Water Chalk - Size L160.00 ฿
-
หมึกเติม CSR Water Chalk Ink (Refill)260.00 ฿
-
หัวปากกา Size M (หัวมน)23.00 ฿
-
หัวปากกา Size M (หัวตัด)25.00 ฿
-
หัวปากกา Size L (หัวมน)26.00 ฿
-
หัวปากกา Size S (หัวมน)17.00 ฿
-
น้ำยาลบกระดาน Eraser Liquid240.00 ฿